Winnie The Pooh Glitter

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ผู้จัดทำ





เด็กหญิง  ปานระพีร์   สุทิน
มัธยมศึกษาปีที่ 2/2  เลขที่ 22
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี






เด็กหญิง  สิริรัตน์  สรรพคง
มัธยมศึกษาปีที่ 2/2  เลขที่ 30
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  สุราษฎร์ธานี



ผลกระทบ


โทษของโทรศัพท์มือถือ 

1
เห่อตามแฟชั่น   ในสมัยก่อน การจะมีโทรศัพท์สักเครื่องเป็นเรื่องที่ขอยากขอเย็น กว่าจะขอคู่สายมาติดตั้งที่บ้านได้บางทีต้องรอเป็นปีๆ ดังนั้น ผู้มีโทรศัพท์ใช้แรกๆ จึงมักเป็นพวกที่ทำธุรกิจ หรือพวกมีเงิน มีเส้นสาย ส่วนคนทั่วไปจะใช้หรือจะขอมีโทรศัพท์มักจะต้องมีงาน มีเรื่องจำเป็นหรือเร่งด่วนจริงๆ จนเมื่อมือถือได้กำเนิดขึ้นมาในระยะแรกๆ ผู้ใช้ก็ยังเป็นกลุ่มเดิมๆ อยู่ โดยเฉพาะนักธุรกิจที่จำเป็นต้องติดต่องาน ต่อมาเมื่อธุรกิจมือถือ ได้กลายเป็นแหล่งทำเงิน ให้แก่ผู้ประกอบการอย่างมหาศาล การแข่งขันจึงมีมากขึ้น ก่อให้เกิดการขยายตัว จากผู้ซื้อกลุ่มนักธุรกิจ และผู้มีอันจะกินทั้งหลาย ไปสู่ตลาดคนชั้นกลาง คนวัยทำงาน แม่ค้า ประชาชน และกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น และนี่เองจึงเป็นเหตุให้มีการพัฒนาเทคนิค และออกแบบมือถือเป็นแฟชั่นรุ่นใหม่ๆ มาดึงดูดใจลูกค้าตลอดเวลา และทำให้หลายๆคนโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ผู้ทำงานด้านเทคโนโลยี เศรษฐี ตลอดจนนักธุรกิจระดับต่างๆ นิยมเปลี่ยนมือถือไปตามแฟชั่นเพื่อให้อินเทรนด์ ดูทันสมัย ไม่ตกรุ่น เทียมหน้าเทียมตาเพื่อนฝูง 

2.
 ทรัพย์จาง    จากการเห่อตามแฟชั่น อย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้หลายคนต้องหาเงินเพิ่ม เพื่อหาซื้อมือถือรุ่นใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากมีเงิน หรือหาเงินได้คล่อง ก็ยังไม่เดือดร้อนเท่าไร แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เงินไม่ดี แต่มีรสนิยมดีเกินฐานะ จึงเกิดสภาวะทรัพย์จาง ต้องหาดิ้นรนหาเงินเพิ่ม หรือไปกู้้หนี้ยืมสินมาซื้อมือถือ ที่ตัวอยากได้ ซึ่งโรคเห่อตามแฟชั่นส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กวัยรุ่น  

3. ขาดความอดทน และใจร้อน   แม้ว่าข้อดีของโทรศัพท์มือถือ จะทำให้เราสื่อสารได้รวดเร็วทันใจ แต่ข้อนี้ก็เป็นข้อเสียที่ทำให้คนเราขาดความอดทน และใจร้อนขึ้นเช่นกัน เพราะความสะดวกสบาย ในการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ว่าตรงไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ กดปุ๊บ ติดปั๊บนี่เอง ทำให้หลายๆ คนกลายเป็นคนที่ทนรอใครนานไม่ได้ หรือไม่ยอมทนแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ คุณน้องต่อไป 
เช่น นัดเพื่อนไว้ และเพื่อนมาช้าแค่ 5 นาที ก็ต้องโทรตามจิกตามล่าแล้ว 

4. ขาดกาลเทศะ และมารยาท  จากการที่เราไม่ค่อยอดทนรอ และใจร้อนที่ว่านี่เอง ทำให้หลายๆ ครั้ง เมื่อนึกอะไรขึ้นมาได้ ก็จะกดโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด อยากถามในทันที ซึ่งบางครั้ง อาจจะเป็นเวลาประชุม เวลานอน เวลารับประทานอาหาร เวลาพักผ่อน หรือเป็นวันหยุด วันที่เขากำลังใช้เวลาอยู่กับครอบครัว การโทรไปเช่นนั้น โดยไม่ดูเวลาหรือกาลเทศะที่ควรโทร แม้เขาจะบอกว่าไปเป็นไร แต่จริงๆ แล้วเขาก็อาจจะไม่พอใจ หรือโกรธที่เราไปขัดจังหวะการกิน การนอน การพักผ่อน ฯลฯ 

5.ขาดมนุษย์สัมพันธ์ แม้ว่าโทรศัพท์มือถือ จะเป็นเครื่องมือสื่อสาร ที่ทำให้เราติดต่อกับคนได้มากมายได้ทั่วโลก แต่คนส่วนใหญ่ จะใช้มือถือพูดคุยกับญาติสนิท มิตรสหายที่ใกล้ชิด ทำให้ขาดความใส่ใจ ที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น ตัวอย่างเช่น เมื่อไปงานเลี้ยงสังสรรค์ แทนที่เราจะไปทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ ในงาน สร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้น หลายคนกลับหลบมุมโทรไปคุยกับเพื่อน  

6.ไม่จริงใจ เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ ไม่ต้องเห็นหน้าตา ทำให้หลายคน สามารถใช้คำหวานหลอกลวง หรือพูดโกหกผู้อื่น สาเหตุให้เกิดเรื่องอื่นๆ ตามมาได้ เช่น เราอาจคิดว่าเขาดีกับเรา พอเขายืมเงิน ก็ให้ไป แล้วเขากไม่คืน เราก็เกิดความเดือดร้อน เป็นต้น 

องค์ประกอบของโทรศัพท์


ส่วนประกอบหลักของโทรศัพท์มือถือ ได้แก่

   1) ตัวเครื่อง  ประกอบด้วย แผงวงจร (มีโลหะมีค่าและสารอันตรายหลายชนิด ได้แก่ ทองแดง ทองคำ สารหนู พลวงเบริลเลียม สานทนไฟที่ทำจากโบรมีน แคดเมียม ตะกั่ว นิกเกิล พาลาเดียม เงิน แทนทาลัม และสังกะสี) จอผลึกเหลว (LCD) (ส่วนประกอบของผลึกเหลวนั้นมีหลายชนิดและมีระดับความอันตรายที่แตกต่างกัน) ลำโพงและไมโครโฟน (มีขนาดเล็กมากแต่ก็มีส่วนประกอบของโลหะหนัก) หน้ากากหรือส่วนห่อหุ้มของโทรศัพท์ (ทำจากพลาสติกที่เป็นโพลีคาร์บอเนต หรือ เอบีเอส หรือเป็นส่วนผสมของสารทั้งสองชนิด) แผ่นปุ่มกด และตัวนำสัญญาณ
    2) เครื่องแปลงแรงดันไฟฟ้า  เพื่อใช้อัดไฟแบตเตอรี่ พบว่ามีส่วนประกอบหลักเป็นลวดทองแดงที่มีพลาสติกหุ้ม และส่วนประกอบอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อยคือ ทองคำ แคดเมียม และตัวทนไฟ
    3) แหล่งพลังงาน/แบตเตอรี่  ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแบบที่สามารถอัดเก็บประจุใหม่ได้ ซึ่งได้แก่ ชนิดนิกเกิล-แคดเมียม (Ni-Cd) ชนิดนิกเกิล-เหล็ก (Ni-Fe) และชนิดนิกเกิล-โลหะไฮไดรด์ (Ni-MH) จนมาถึงรุ่นปัจจุบันซึ่งนิยมใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเทียม-ไอออน (Li-ion) ซึ่งสามารถประจุไฟฟ้าได้มากกว่า และสามารถชาร์จไฟได้ในขณะที่ยังมีไฟอยู่ แต่ในบางรุ่นก็ยังมีราคาสูง

โทรศัพท์ในประเทศไทย

การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

      
  • ปี พ.ศ. 2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT  ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470 จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5 กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว
  • ปี พ.ศ. 2530 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้นำระบบ AMPS  ความถี่800MHz มาให้บริการ โดยคุณลักษณะเด่นของระบบ AMPS800 คือเครื่องลูกข่ายที่มีขนาดเล็ก สามารถถือไปมาได้โดยสะดวก จึงได้รับความนิยมมากและเป็นที่มาของโทรศัพท์มือถือ ระบบ AMPS800 เริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่การให้บริการระยะแรกไม่ได้เรียกผ่านรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่  แต่ต้องทำการเรียกผ่านหมวดเลขหมายของพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าโทรทั้งการโทรออกและรับสาย 
          

   ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

  1.  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
  4. บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด
  5. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท ทรูมูฟ จำกัด
  7. บริษัท เรียลมูฟ จำกัด
  8. บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด 
  9. บริษัท ไทย โมบาย จำกัด

วิวัฒนาการ


 1.ยุค 1G (1st Generation) เริ่มตั้งแต่ยุคแรก ระบบยังเป็นระบบอะนาล็อก (Analog) และมีการแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ ในยุคนี้เราสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ผู้ใช้ก็ยังไม่ได้มีความต้องการที่จะใช้บริการประเภทอื่น




2.ยุค 2G (2nd Generation) เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการและความหลากหลายด้าน การบริการมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุจากแบบอะนาล็อกมาเป็นแบบ digital ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากบริการเสียง ทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุคเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ และเพราะการให้บริการทางด้านข้อมูล ทำให้เกิดบริการอื่นๆ ที่ตามมมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นDownload Ringtone Wallpaper Graphic ต่างๆ แต่บริการในยุคนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ยังอยู่ระดับต่ำ


3.ยุค 2.5G (2.5 Generation) หลังจากนั้นเป็นยุคที่อยู่ระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G ใน 2.5Gนี้เป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยี GPRS  มาใช้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากกว่ายุค 2Gเทคโนโลยี GPRS สามารถส่งข้อได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 kbps แต่ ความเร็วของ GPRS ในการใช้งานจริงจะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40kbps เท่านั้นซึ่งในยุค 2.5G นั้นจะเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้บริการในส่วนของข้อมูลมากขึ้น และการส่งข้อความก็พัฒนาจาก SMS มาเป็น MMSโทรศัพท์มือถือก็เริ่มเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี เสียงเรียกเข้า จากเดิมที่เป็นเพียง Monotone ก็เปลี่ยนมาเป็นPolyphonic รวมไปถึง True tone ต่างๆ ด้วย




4.ยุค 2.75G คือยุคที่ต่อเนื่องมาจาก GPRS แต่จะมีการพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น และเรียกเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลว่า EDGE  ซึ่งจะมีความเร็วมากกว่า GPRS ประมาณ เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 kbps แต่มีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 kbps




5.ยุค 3G (Third Generation) เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ นั้นจะเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานการรับส่งข้อมูล และเทคโนโลยีที่อยู่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน รวมทั้งส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สาย (Wireless) ที่ความเร็วที่สูงกว่ายุค 2.75G นอกจากนี้ 3G ยังสามารถให้บริการมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น (Application) รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น เช่น การรับส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ การใช้บริการ Video/Call Conference ดาวน์โหลดเพลง ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ ดู TV Streaming ต่างๆได้


วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติการเป็นมา


 โทรศัพท์ประดิษฐ์เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์  เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ (ค.ศ.1876)  และต่อมาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ได้ถูกเปิดให้บริการผู้เช่าเป็นครั้งแรกในเมืองนิวฮาเวนมลรัฐคอนเนตทิคัต  เป็นระบบที่ใช้พนักงานต่อสายสัญญาณ  ต่อมาเครื่องชุมสายโทรศัพท์ได้ถูกพัฒนา จากระบบที่ใช้พนักงานต่อเป็นระบบอัตโนมัติ  เครื่องชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติเครื่องแรกเป็นระบบการสลับทีละขั้น หรือระบบสเต็ปบายสเต็ป ออกแบบโดยอัลมอน บี สโตรว์เกอร์ ในปี พ.ศ๒๔๓๕ (ค.ศ. 1892) และเปิดใช้ในเมืองลาปอเต้ 
รัฐอินเดียน่า  ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก

หน้าแรก


โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่  คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละ
ผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอสวิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส

ผู้จัดทำ

เด็กหญิง  ปานระพีร์   สุทิน มัธยมศึกษาปีที่ 2/2  เลขที่ 22 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เด็กหญิง  ...